เมนู

6. สหชาตปัจจัย ฯลฯ 8. นิสสยปัจจัย


[238] 1. สัปปฏิฆธรรม เป็นปัจจัยแก่สัปปฏิฆธรรม ด้วย
อำนาจของสหชาตปัจจัย
มี 9 วาระ.
ฯลฯ เป็นปัจจัย ด้วยอำนาจของอัญญมัญญปัจจัย มี 6 วาระ.
ฯลฯ เป็นปัจจัย ด้วยอำนาจของนิสสยปัจจัย มี 9 วาระ.

9. อุปนิสสยปัจจัย


[239] 1. สัปปฏิฆธรรม เป็นปัจจัยแก่อัปปฏิฆธรรม ด้วย
อำนาจของอุปนิสสยปัจจัย

มี 2 อย่าง คือที่เป็น อารัมมณูปนิสสยะ และ ปกตูปนิสสยะ
ที่เป็น ปกตูปนิสสยะ ได้แก่
บุคคลเข้าไปอาศัยอุตุ ฯลฯ เสนาสนะแล้ว ให้ทาน ฯลฯ ทำลายสงฆ์.
อุตุ เสนาสนะ เป็นปัจจัยแก่ศรัทธา ฯลฯ แก่ผลสมาบัติ ด้วยอำนาจ
ของอุปนิสสยปัจจัย.
2. อัปปฏิฆธรรม เป็นปัจจัยแก่อัปปฏิฆธรรม ด้วย
อำนาจของอุปนิสสยปัจจัย

มี 3 อย่าง คือที่เป็น อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ และ
ปกตูปนิสสยะ
ที่เป็น ปกตูปนิสสยะ ได้แก่
บุคคลเข้าไปอาศัยศรัทธาแล้ว ให้ทาน ฯลฯ ถือทิฏฐิ.

บุคคลเข้าไปอาศัย ศีล ฯลฯ สุขทางกาย ฯลฯ ทุกข์ทางกาย ฯลฯ โภชนะ
แล้ว ให้ทาน ฯลฯ ทำลายสงฆ์.
ศรัทธา ฯลฯ โภชนะ เป็นปัจจัยแก่ศรัทธา ฯลฯ แก่ผลสมาบัติ ด้วย
อำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.

10. ปุเรชาตปัจจัย


[240] 1. สัปปฏิฆธรรม เป็นปัจจัยแก่อัปปฏิฆธรรม ด้วย
อำนาจของปุเรชาตปัจจัย

มี 2 อย่าง คือที่เป็น อารัมมณปุเรชาตะ และ วัตถุปุเรชาตะ
ที่เป็น อารัมมณปุเรชาตะ ได้แก่
บุคคลพิจารณาเห็นจักษุ ฯลฯ โผฏฐัพพะทั้งหลาย โดยความเป็นของ
ไม่เที่ยง ฯลฯ โทมนัส ย่อมเกิดขึ้น.
บุคคลเห็นรูปด้วยทิพยจักษุ ฟังเสียงด้วยทิพโสตธาตุ.
รูปายตนะ เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะ เป็น
ปัจจัยแก่กายวิญญาณ ด้วยอำนาจของปุเรชาตปัจจัย.
ที่เป็น วัตถุปุเรชาตะ ได้แก่
จักขายตนะ เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ฯลฯ กายายตนะ เป็นปัจจัย
แก่กายวิญญาณ ด้วยอำนาจของปุเรชาตปัจจัย.
2. อัปปฏิฆธรรม เป็นปัจจัยแก่ อัปปฏิฆธรรม ด้วย
อำนาจของปุเรชาตปัจจัย